ซุปเปอร์บอร์ด GIGABYTE สร้างมาเพื่อ 28-core Intel





เรามาดูกันว่าเมนบอร์ดของทาง GIGABYTE  ที่สามารถ overclocking เจ้า Intel's 28-core CPU ไปที่ 5GHz ว่ามันมีอะไรกันบ้าง, และมันมีตัวอะไรกันแน่ที่ซ่อนอยู่ใต้ heat sinks/ตัวระบายความร้อนต่างๆ.
ก่อนอื่น, ตัวชิป 5GHz 28-core นี้มันไม่ใช่ตัวชิปรุ่นใหม่, แต่มันคือ Xeon Platinum 8180 รุ่นปรับแต่งและ overclocked. ส่วนทางด้านเมนบอร์ดก็จัดมาให้เต็มที่สำหรับ VRM/ตัวแปลงไฟ, เรียกได้ว่าค่า TDP ขนาด "300W" ยังถือว่าน้อยไปด้วยซ้ำ (Platinum 8180 เรทไว้ที่  205W TDP).  อ้างอิงจากตัว Intel's 18-core 7980XE มันดึงพลังงานได้มากถึง 500W ยามเมื่ออัด overclocked ไปที่ 4.5GHz. คงไม่ต้องบอกว่าตัว 28-core CPU ที่มีแกนเพิ่มขึ้นมากว่าครึ่งและอัดครบทุกแกนเพิ่มขึ้นอีก 500MHz + มันจะบริโภคพลังงานอีกเท่าไหร่, และเพื่อให้ประสิทธิภาพการจ่ายไฟของ  VRM นั้นเสถียร, แน่นอนว่าต้องเพิ่ม phase count, ตัวเลขที่กะกันไว้น่าจะอยู่ที่ 1.2-1.8 KW. เหตุเพราะ 7980XE ยังบริโภคไปได้มากถึง 1000W หล่อเย็นด้วย LN2.
และเชื่อได้ว่าเมนบอร์ดของทาง GIGABYTE และ ASUS ตัวอัดโชว์กับ CPU นี้ใช้แผ่นปริ้นท์หรือ PCB ชนิดเดียวกันกับรุ่น dual socket ซึ่งตัวแผ่นทองแดงที่ฝังในแผ่นจะมีความทนทานมากพอกับกระแสไฟที่เพิ่มขึ้น, และยิ่งมั่นใจมากขึ้นว่าตัวบอร์ดนั้นมาพร้อมขั้วไฟรูปแบบ ATX 8-pin power connectors มากถึงสี่ชุด. และมีไว้เพื่อเลี้ยงไฟให้กับ CPU เท่านั้น, และตามมาตรฐานแล้วแต่ละชุดเลี้ยงไฟมากสุดที่ 300W.


และสำหรับ 28-phase VRM มันถูกควบคุมด้วย IR35201 และในแต่ละ 7 phase/กลุ่ม ก็จะใช้ IR3599 เจ็ดตัว, เพราะฉนั้น 4 กลุ่มนี้ก็จะเท่ากับ 28-phases. ถือว่าการนำสูตรนี้มาใช้จะทำให้เกิดความสมดุลทางด้านพลังงานและประสิทธิภาพ. ทาง GIGABYTE นั้นใช้ IR3556, จ่ายไฟ 50A power stages ส่วน inductors หรือตัวเหนี่ยวนำไฟเรทอยู่ที่ 76A มากสุด. และดูเหมือนสูตรนี้จะถูกนำไปใช้กับเมนบอร์ดระดับ high-end อีกด้วย.
ทางด้าน VRM ระบายความร้อนด้วยพัดลมถึงสี่ตัวและดูเหมือนจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าปรกติ, และยังเห็นท่อสื่อความร้อนอีกด้วย. หากคำนวณกับระดับพลังงานที่ 1200-1800W, ใช้ Vin/แรงดันไฟ เท่ากับ 2.1v (แก้ปัญหาทางด้านคอขวด), ก็เท่ากับว่าต้องการกระแสไฟที่ 570-860A (โดยประมาณ). และหากเรานำ 570-860A หารด้วย 28 phases, แต่ละ power stage จะต้องจ่ายไฟที่ 20-31A, ดูๆแล้วอาจจะว่ามันมากไปหรือเปล่า, และในแต่ละ IR= 50A  ที่จะต้องจ่ายไฟประมาณ 20A-31A, ก็จะสามารถเรทหรือให้ไฟที่ 2-4W ซึ่งจะมีประสิทธิภาพที่พอเพียงประมาณ  93-92%. เพราะฉนั้นรวมกันแล้วก็ประมาณ 56-112W ที่เรทเอาไว้สำหรับ VRM heat หรืออุณภูมิที่จะต้องขจัดไป. และนี่คือคำตอบการดีไซน์ VRM cooler เพื่อให้ 8700K นั้นอยู่แบบสบายๆ.


ตัวเมนบอร์ดมี memory อยู่ทั้งหมดหกช่องด้วยกัน, ในแต่ละช่องสลักเอาไว้ A,B,C,D,E, และ F พร้อม DIMMs อีกสองตัวต่อช่อง. มี PCI-E รูปแบบ x16/x8/x8/x4/x16/x8/x8. และ x4 slot เดินสายไปที่ PCH, และหากว่ามี 48 lanes เท่ากับ Xeon Platinum 8180, เรายังขาดอีก x16 lanes.   ที่สงสัยก็คือ, น่าจะมีสวิชต์บางตัวที่มาดูแลเรื่องนี้, หรือจะเป็น PCH ที่จะมาดูแลเรื่อง lanes ที่ขาดหายไป. ตัวบอร์ดยังมาพร้อม Intel Gbit NIC chip, U.2 port, และ SATA6Gb/s ports อีกแปดชุด. เรายังสังเกตุเห็น PCI-E  quick switches อีกสามตัวบน PCI-E slots และอีกสี่ตัวใกล้ๆกับ x4 slot. จากที่ดู, สามารถสรุปได้ว่าเมนบอร์ดตัวนี้น่าจะใกล้เคียงที่สุดที่จะทำออกมาขาย, เหตุเพราะมันมีระบบเสียงระดับ high-end audio พร้อมด้วย  ALC1220 และ audio capacitors/คาปาและยังฟีเจอร์ GIGABYTE RGBW headers และ digital RGB headers เป็นแบบ 3-pin layout. ตอบได้เลยว่าเมนบอร์ดตัวนี้ไม่ธรรมดาและคาดกันว่า CPU น่าจะใช้ Intel's XCC die เสียด้วยซ้ำ


Comments