เปิดเผยบททดสอบ Intel Core i9-9900K 8 Core/16 Thread, Core i7-9700K 8 Core/8 Thread and Core i5-9600K 6 Core/6 Thread CPU รูปแบบ Single Core และ Multi-Core





บอกได้เลยว่าแต่ละรุ่นแรงตั้งแต่เกิด, ทุกตัวทดสอบแบบ stock clock speeds/ไม่ปรับแต่งความเร็ว, เรากำลังพูดถึงความเร็วระดับ 5.0 GHz รูปแบบ single และ 4.7 GHz แบบครบ 8 cores. แถมรูปแบบการผลิตเป็นแบบปรับปรุงใหม่ 14nm++ process.

เริ่มกันที่รุ่นท๊อปสุด Intel Core i9-9900K ทำคะแนนได้ 6248 points รูปแบบ single core และ 33037 points รูปแบบ multi-core. ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดเท่าที่เคยเห็นบน LGA 1151 socketed และบอกได้เลยว่า Ryzen club หมดสิทธิ์ที่จะทำได้. ตัวชิปถูกทดสอบบนเมนบอร์ด  ASUS ROG Maximus X HERO +  16 GB of DDR4 memory ถือว่าธรรมดามากๆ, และหากทำ overclocks ตัวเลขคงขยับไปได้มากกว่านี้, อย่าลืมว่าชิปทั้งสามรุ่นใช้วัสดุที่มีสสารของเหล็กผสมในการสื่อความร้อน (ชนิดแข็ง) soldered IHS.




ถัดมาเป็น  Intel Core i7-9700K ทำคะแนนได้ 6297 points รูปแบบ single core และ 30152 points รูปแบบ multi-core benchmark. คะแนนแบบ single core score ทำได้เทียบเท่า Core i9-9900K ถึงจะต่างกันเพียงแค่ 100 MHz, และทำคะแนนได้น้อยกว่า 3000 เหตุเพราะมีจำนวน threads ที่น้อยกว่า. ตัวชิปถูกทดสอบด้วยเมนบอร์ด Gigabyte Z370 AORUS Ultra Gaming. หากเทียบกับ Ryzen 7 2700X ประสิทธิภาพของ  i7-9700K จะทำได้ดีกว่าในรูปแบบ  single core แต่ถ้าเทียบจำนวน threads สำหรับ Ryzen 2700X จะมี 16 threads ส่วน Core i7-9700K มีเพียงแค่ 8 threads. และหากเทียบกับ  8700K ทางด้านประสิทธิภาพ, ก็ยังด้อยกว่าในรูปแบบ/และคะแนน multi-core score.




ขยับมาที่รุ่น Intel Core i5-9600K ใช้ฮาร์ดแวร์แบบเดียวกันกับ Core i7-9700K. สามารถทำคะแนนได้ 6027 points รูปแบบ single core และ 23472 points รูปแบบ multi-core CPU benchmark. จะสังเกตุได้ว่าประสิทธิภาพในด้าน single core จะไม่หนีกันเท่าไหร่, แต่ในด้าน multi-core จะด้อยกว่าเห็นๆเหตุเพราะว่าจำนวน threads ที่น้อยกว่า.  Core i5-9600K ถือว่าเป็นรุ่นที่ปรับปรุงมาจาก i5-8600K ไม่แปลกใจว่าทำไมความเร็ว clock ถึงทำได้ดี. ส่วน 8600K สามารถทำคะแนนได้ 5000 points รูปแบบ single core และ 19000-20000 points รูปแบบ multi-core benchmark อันนี้คงเห็นชัดแล้วว่าประสิทธิภาพนั้นทำไมทำออกมาได้ดี.




Intel Core i9-9900K

คราวนี้เรามาเจาะลึกรุ่นท๊อบสุด 8 core, 16 thread, Intel Core i9-9900K. สำหรับ Core i9 ถึอว่าเป็นชิปสำหรับตลาดผู้บริโภคทั่วไปที่มาพร้อมจำนวนแกน 8 cores และ 16 threads เป็นครั้งแรก. ส่วนในด้าน cache, ตัวชิปฟีเจอร์ 16 MB - L3 และมาพร้อม Intel UHD 620 graphics chip.

ความเร็ว clock ทำได้ 3.6 GHz base clock แบบยังไม่ปรับแต่งใดๆและ 5.0 GHz boost clock ในรูปแบบ single และ dual core operations. และ 4 core boost ทำได้ 4.8 GHz ส่วน 6/8 core boost ได้มากถึง 4.7 GHz. ถือว่าทำได้สูงมากสำหรับชิปประเภท 8 core และทำได้ดีแบบครบทุกแกน. ทั้งหมดนี้อยู่ภายใจ้แรงโหลดที่ 95Wเท่านั้น.


Intel Core i7-9700K

ถัดมารุ่นท๊อปสุดในสาย Core i7, มีจำนวนแกน 8 cores และ 8 threads. มี 12 MB - L3 cache หากเทียบกับ Core i7-8700K ที่มีจำนวนแกนน้อยกว่าแต่มีจำนวน threads มากกว่า, แต่ในด้านประสิทธิภาพ-เทียบกันตามจริงอาจจะพอๆกันและอาจจะดีกว่าในบางกรณี.

ทางด้านความเร็ว clock, ทำ base clock ได้ที่ 3.6 GHz และ boosts ได้มากถึง 4.9 GHz รูปแบบ single, 4.8 GHz แบบ dual-core, 4.7 GHz แบบ 4 core และ 4.6 GHz แบบ 6/8 core operations. ค่า TDP ที่ 95W.

มาในรุ่น Intel Core i5-9600K, จำนวนแกน 6 Cores, และ 6 Threads ทำความเร็ว Clocks ได้สูงกว่าหากเทียบกับเจนที่ 8- i5 ‘K” SKU

Intel Core i5-9600K

มาพร้อมจำนวนแกน  6 core และ 6 thread มี 9 MB - L3 cache. ดูแล้วก็เหมือนๆกับ Core i5-8600K. สิ่งที่แตกต่างกันเห็นจะเป็นความเร็ว clock ที่สูงกว่า, ทำได้  3.7 GHz base, 4.6 GHz boost (1 core), 4.5 GHz (2 core), 4.4 GHz (4 core) และ 4.3 GHz (6 core). ค่า TDP อยู่ที่  95W.
และสำหรับชิปเตนที่ 9 นี้สามารถใช้กับเมนบอร์ดรุ่นปัจจุบัน 300 series และ Z390 รุ่นใหม่. ด้านล่างเป็นฟีเจอร์หลักๆที่มีมาให้:


Intel Core i9 desktop s-series processor
จำนวนแกนมีมากถึง 8 cores
ใช้ได้กับ Intel Z390 chipset
Solder Thermal Interface Material (STIM)/มีส่วนผสมของเหล็กในการสื่อความร้อน
Integrated USB 3.1 gen 2 และ Integrated Intel Wireless-AC
จำนวนแกนมากถึง  16 threads, 5.0 GHz, 16 MB cache,และมี 40 platform PCIe lanes (16 CPU + 24 PCH)
ใช้ได้กับ Intel 300 series chipsets
Intel Optane memory และ Intel Optane SSD support
Thunderbolt 3 support
ทางด้านราคานั้น, ตอนนี้ยังไม่เปิดเผยออกมาอย่างเป็นทางการ.

ที่มาเครดิต/Sources: https://wccftech.com

Comments