เจาะลึก AMD Athlon 200GE vs. Intel
สำหรับ AMD Athlon 200GE มาในรูปแบบ dual-core, quad-thread
processor + Vega graphics, เปิดราคามาที่ $55
(£47) เทียบกับทาง Intel Pentium Gold G5400 ที่มาพร้อมราคา
$64 ถือว่า AMD Athlon processor ดูแล้วจะตอบโจทย์มากกว่าในด้านราคาแต่หากเปรียบเทียบกับความคุ้มค่าแล้ว,
คุณคิดว่าAthlon 200GE จะไปได้ดีกว่าหรือไม่สำหรับใครที่ใช้คอมแบบทั่วๆไป?
Features/คุณสมบัติ
เทียบกันทางด้านสเปก, AMD Athlon 200GE และ
Intel Pentium Gold G5400 ต่างก็มาพร้อมจำนวนแกน 2 แกน, 4 threads. แต่หากมองทางด้าน
clock speed, Pentium จะทำได้ดีกว่าและแรงอยู่ที่ 3.7GHz base clock, ส่วน
Athlon จะอยู่ที่ 3.2GHz base. แต่หากดูทางด้าน memory ฝั่งสีแดงรองรับความเร็วได้ที่
DDR4-2667 เทียบกับฝั่งสีฟ้าที่ DDR4-2400 และที่สำคัญ, แรงโหลดหรือค่า TDP จะน้อยกว่า,
อยู่ที่ 35w เปรียบเทียบกับ 54w.ทางด้านกราฟฟิก, Athlon 200GE processor ประกบมาด้วย Radeon
Vega - 3 compute units และ 64 stream processors ส่วนของทาง Intel Pentium Gold G5400 พกมาแค่ Intel UHD Graphics 610. ยกนี้, AMD
ชนะ.
.
ทางด้าน Overclocking
อย่างที่รู้กันว่า, ทั้ง AMD Athlon 200GE และ Intel Pentium Gold G5400 ไม่รองรับการทำ
overclocking. แต่แว่วมาว่าทาง Asus, Gigabyte และ
MSI จะปล่อยเมนบอร์ดที่สามารถปลดล๊อคให้
Athlon 200GE processor ทำ overclock ได้เฉพาะทางด้าน clock speed อัดเพิ่มจาก 3.2
GHz ไปเป็น
4 GHz แต่ไม่สามารถกระทำได้กับชิปกราฟฟิก. ยกนี้
AMD ก็ชนะ.
Cooling Requirements/ความต้องการทางด้านการทำความเย็น
ทั้งคู่ต่างก็มาพร้อมตัวทำความเย็นจากโรงงานอยู่แล้ว, ถึงแม้
AMD Athlon 200GE จะสามารถกระทำ overclocking ได้กับบางเมนบอร์ดก็ตาม, แต่ก็เป็นความคิดที่ดีหากผู้ใช้จะเพิ่มอุปกรณ์เสริมภายหลังเพื่อให้เกิดความเสถียรของระบบดียิ่งขึ้น,
นอกเหนือไปกว่านั้น, Athlon 200GE ยังใช้ AM4 socket ซึ่งเป็นแบบเดียวกันกับ
AMD Ryzen platform, ผู้ใช้สามารถเลือกหาอุปกรณ์เสริมได้หลากหลายขึ้น. ยกนี้เสมอๆ
Motherboard Options/เมนบอร์ด
Intel และ AMD ต่างก็ทำออกมาเพื่อตลาดระดับล่างหรือกลุ่มที่ใช้งานทั่วๆไป. สำหรับเมนอร์ดที่เป็น
Intel H310 chipset มาพร้อม 6 PCI-E 2.0 lanes, รองรับ DDR4 DIMMs ได้มากสุดสองแท่ง,
10 USB ports, ไม่รองรับ USB 3.1
Gen.2, และมี SATA ports เพียงแค่สี่ชุด. และสำหรับเมนบอร์ด,
ก็มีให้เลือกเฉพาะการใช้งานทั่วๆไปราก็ไม่เกิน $60.
แต่ถ้าขยับไปหา Intel B360 chipset ราคาก็จะขยับขึ้นมาหน่อยอยู่ที่
$70-$80 และมีลูกเล่นและอ๊อฟชั่นมาให้เล่นเพิ่มมากขึ้น,
ไม่ว่าจะเป็น money, มี 12 PCI-e lanes และ NVMe storage, รองรับ USB
3.1 Gen.2, และมี SATA ports มากถึงหกชุด.
Intel Chipsets
ผู้ใช้ยังสามารถคบหาเมนบอร์ดที่เป็น H370, Z370, หรือ Z390
แต่จะเป้นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์
AMD Athlon 200GE ก็เช่นกัน,
ทำมาเพื่อกลุ่มงบจำกัดและใช้งานทั่วไป, แต่ข้อดีตรงที่, AMD รับปากเอาไว้ว่าจะพยายามรักษาAM4 socket ให้ควบคู่กับ Zen
architecture ให้ยาวที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้, อย่างน้อยก็จะเห็นอยู่อีกสองสามเจน.
Athlon 200GE สามารถนั่งอยู่บนเมนบอร์ด X370 หรือ
X470 แต่ก็อีก, จะเป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์
AMD Chipsets
เมนบอร์ด AMD A320 น่าจะเหมาะที่สุดสำหรับ Athlon 200GE. มี 13
USB ports + USB 3.1 Gen2 port. แถมทาง Athlon ยังแบ่งหนึ่งในแปดหรือ
1 x8 PCIe channel สำหรับการ์ดจอ/discrete GPUs อีกต่างห่าง, และมี2 NVMe channel. มี
SATA ports สี่ชุดเพื่อการใช้งาน ฮาร์ดไดรฟ, SSDs, และ
optical drives.
ส่วนเมนบอร์ดที่สูงๆก็จะมีฟีเจอร์ที่มากกว่าเช่น SATA ports, USB
channels, และรองรับหรือปลดล๊อค overclocking. ส่วน
A320 ไม่สามารถกระทำได้, แต่ B350 chipset สามารถปรับแต่ง CPU ให้ได้.
ยกนี้ก็เสมอ
Gaming Performance/ประสิทธิภาพทางด้านเกมส์
หากเทียบกันที่ clock speed, ดูเหมือนทาง Intel จะตอบโจทย์ทางด้าน
instructions per clock (IPC) ได้ดีกว่า AMD อันนี้อย่าสงสัยว่าทำไม
Pentium จะไปได้ดีกว่า.
สำหรับ Athlon 200GE ประกบคู่มาพร้อม Vega compute units ซึ่งหากเทียบทางด้านการประมวลผลทางด้านกราฟฟิกแล้ว,
ฝ่ายแดงจะกินขาดหากไม่นับรวมการหาการ์ดจอต่างหากมาเสริมเข้า. และสำหรับเกมส์ที่ไม่หวือหวาจนเกินไป,
เซ้ตค่าเอาไว้ต่ำๆ, Athlon ก็สามารถขับเคลื่อนไปได้. ยกนี้ถือว่าเสมอกันเช่นกัน,
เหตุเพราะหากผู้ใช้นำเอาการ์ดจอมาเสริมต่างหากเข้ากับ Intel Pentium Gold G5400,
ตอบตรงนี้ได้เลยว่า, ประสิทธิภาพทางด้านเกมส์นั้นจะพอๆกับ Core i3-7100.
Productivity Performance/การใช้งานทั่วไป
ไม่ว่าจะเป็นท่องไปในเว็ป, การใช้งานแบบเอกสารทั่วไป, ถือว่าทำได้ดีกันทั้งคู๋,
แต่ถ้าเอามาเทียบกันจริงๆ, ทาง Intel จะทำได้ดีกว่านิดหน่อย. แต่หากเป็นทางด้านแก้ไขภาพ,
หรือวีดีโอ, Athlon จะทำได้ดีกว่า, แต่หากเป็นการโหลดซอร์ฟแวร์บางตัวขึ้นมาใช้งาน, Athlon
จะใช้เวลามากกว่า
Pentium. ยกนี้ฝั่งสีฟ้าเอาไปกิน.
Rendering/การกำเนิดภาพหรือสร้างภาพ
หากผู้ใช้ๆงานทางด้าน 3D rendering, ควรจะคบหาชิปที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่านี้.
แน่นอนว่า G5400 ได้เปรียบทางด้านIPC และ clock speed หากเทียบกับ 200GE
ในด้านการกำเนิดภาพ/rendering,
แต่ถ้าทำ
overclocking อันนี้ก็ไม่แน่สำหรับ Athlon. แต่หากเป็นแบบสต๊อกหรือไม่ดัดแปลงใดๆ,
AMD processor ไม่ใช่คู่แข่งกับ
Intel แหมจะเป็นรุ่นที่แล้วอย่าง Pentium G ก็ตาม.
ยกตัวอย่างเช่นหากเป็นซอร์ฟแวร์ของ
Corona renderer ray tracing อันนี้จะเห็นได้ชัดว่า
Pentium ไปได้ดีกว่า, แม้กระทั่ง overclock ก็แล้วกับ
AMD,
ก็ไม่ใช่คู่ต่อสู้. ยกนี้ Intel เอาไปกิน
Encoding & Compression/การใส่รหัสและบีบอัดไฟล
Intel Pentium Gold G5400 และ AMD’s Athlon 200GE ไม่เหมาะกับงานประเภทนี้เท่าไหร่นัก,
แต่ก็มีข้อแม้บางกรณีเช่นกันหากนำมาเปรียบเทียบกัน. ถ้าเทียบกันแบบไม่ปรับแต่งใดๆ,
ดิบๆจากโรงงานมาเลย, Pentium G5400 จะดีกว่าAthlon 2000GE. แต่หากกระทำ
overclock กับ Athlon อันนี้มีลุ้นบางกรณีขึ้นอยู่กับแอ็ปบางตัว. (อย่าลืมว่า
Athlon รองรับ AVX instructions. ยกนี้ Intel ชนะ.
Value Proposition/ความคุ้มค่า
หากมองทางด้านราคา, แน่นอน AMD Athlon 200GE ทำราคาได้ถูกกว่า,
แต่ Intel Pentium Gold G5400 ดูเหมือนจะตอบโจทย์ได้ดีกว่าในเกือบทุกด้าน,
เพียงแต่ว่าชิปของฝั่ง AMD นั้นประกบคู่มาพร้อมชิปกราฟฟิก/integrated
graphics และราคาที่ถูก. ส่วนทางด้านเกมส์นั้น, แน่นอนว่าชิปของ AMD
ทำได้ดีกว่า,
แต่หากผู้ใช้เพิ่มเงินอีกสัก $70 ใส่การ์ดจอเข้าไปเสริมให้กับ Pentium G5400 , รับรองว่า กินขาด. ยกนี้เป็นของ AMD Athlon
200GE
Bottom Line/สรุป
เสมอๆทั้งคู่, แต่ว่า AMD Athlon 200GE มีดีทางด้านตัวชิปกราฟฟิกที่ประกบมาให้,
และยังสามารถทำ overclock ได้. แต่หหากผู้ใช้คิดว่าจะซื้อการ์ดจอต่างหากเพื่อมาเล่นกับชิปสองตัวนี้,
บอกได้เลยไปหา Pentium G5400 จะดีกว่าเยอะ.
ที่มาเครดิต/Sources: https://www.tomshardware.com
Comments
Post a Comment